นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้หารือนอกรอบกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน ถึงมติของกระทรวงพลังงาน ให้ ปตท. และ กฟผ. ทบทวนประมาณการณ์สมมุติฐานราคาก๊าซธรรมชาติ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราแลกเปลี่ยน และภาระหนี้คงค้างของ กฟผ. เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย ส่งผลให้ค่าเอฟทีจากเดิมที่จะปรับสูงขึ้น 190.44 บาทต่อหน่วย เหลือเพียง 154.92 บาทต่อหน่วย ทำให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าในอัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย ในรอบบิลเดือน ม.ค.-เม.ย. 66 ซึ่งกระทรวงพลังงานได้ชี้แจงถึงปัญหาที่เผชิญหน้าด้านพลังงานของประเทศไทยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ทั้งนี้ ภาคเอกชนให้ความเห็นว่า ต้องขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี ที่ฟังเสียงภาคธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าไฟครั้งนี้ ได้ช่วยลดค่าเอฟที จากเดิมที่จะปรับสูงขึ้น ถึงแม้ไม่ได้ตรึงราคาตามข้อเสนอของภาคเอกชน ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัว และอาจต้องปรับขึ้นราคาสินค้าและบริการเพื่อสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงบางส่วน โดยไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภคมากเกินไป ภาคเอกชนทุกสาขาธุรกิจมุ่งมั่นพร้อมร่วมหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนในการดูแลราคาพลังงานและราคาสินค้าและบริการในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน พร้อมประคองกำลังซื้อภายในประเทศให้สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตามได้หารือทางออกร่วมกัน โดยนายสุพัฒนพงษ์ ได้ชี้แจงถึงสถานการณ์พลังงาน และข้อจำกัดด้านกฎหมาย ณ ปัจจุบัน เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนของผู้ประกอบการร่วมกันในระยะสั้น การประชุมครั้งนี้ ได้ข้อสรุปเบื้องต้นของภาคเอกชน 3 ข้อ ดังนี้

1. ขอให้สมาคมธนาคารไทย พิจารณายืดขยายระยะเวลาการส่งคืนเงินต้น สำหรับลูกค้าที่เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนออกไปอีก 1 ปี และคิดอัตราดอกเบี้ยในราคาถูก เพื่อเป็นการขอลดค่า AP (Availability Payment) หรือค่าความพร้อมจ่าย จากโรงไฟฟ้าเอกชนเป็นการชั่วคราวในช่วงวิกฤตพลังงานสูง

2. ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ 100% (มีมากกว่า 1 พันราย) ให้ลดการใช้ลงเหลือ 80% โดยเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันดีเซล 20% ที่ในขณะนี้มีราคาถูกกว่า หรือใช้พลังงานทดแทนอื่นที่เหมาะสม เพื่อทยอยให้ก๊าซธรรมชาติของไทยเข้าสู่ระบบมากขึ้น ในกลางปี 2566 ตามการคาดการณ์ของภาครัฐที่ประมาณการจะมีมากขึ้นแบบขั้นบันได ซึ่งจะทำให้การคำนวณค่า Ft ในรอบถัดไปมีอัตราที่ลดลง แต่การปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงผู้ประกอบการบางรายอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบ ซึ่งจะมีการรวบรวมและหารือกับภาครัฐในการชดเชยผลกระทบดังกล่าว กับผู้ประกอบการที่ให้ความร่วมมือ ต่อไป ซึ่งปัจจุบันได้รับการตอบรับจากภาคเอกชนหลายรายแล้ว เช่น ทาง SCG เป็นต้น

3. ให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านพลังงาน (กรอ. ด้านพลังงาน) เพื่อร่วมกันหารือ แก้ไขปัญหาและสร้างความเข้าใจในด้านพลังงานที่มีผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ต่อไป ซึ่งส่วนนี้หากมีการหารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาครัฐและเอกชน ก็จะสามารถหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันได้

หากภาครัฐและเอกชนร่วมมือไปด้วยกัน ในข้อเสนอแนะดังกล่าว จะส่งผลให้มีการคำนวณค่าเอฟทีในรอบใหม่ได้เร็วขึ้น

สำหรับข้อเสนอแนะ 3 ข้อดังกล่าว สอดคล้องกับแนวทางของ กกร.ที่เสนอแนะต่อภาครัฐไปก่อนหน้านี้ โดยเชื่อว่า จะเป็นทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาค่าไฟสูง ในระยะสั้นได้เร็วขึ้น สำหรับระยะยาวภาคเอกชนก็พร้อมที่จะปรับตัวในการใช้พลังงานทางเลือกให้เหมาะสม ในส่วนนี้ เป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ แม้ว่าค่าไฟของประเทศไทยในปัจจุบันจะสูงกว่าทั้งเวียดนามและอินโดนิเซีย ก็ตาม แต่ประเทศอื่นใช้สัดส่วนพลังงานจากถ่านหินที่มากกว่าไทย นอกเหนือจากนี้ ภาคครัวเรือน ก็จำเป็นต้องมีความตระหนัก ปรับตัวในการใช้ไฟฟ้าอย่างเหมาะสมเช่นกัน ซึ่งจะมีการหารือใน กรอ. พลังงาน เพื่อสร้างมาตรการและปลูกฝังจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน ในลำดับต่อไป

By admin