บรรยากาศการประชุมสมาชิกวุฒิสภาวันนี้ มี ส.ว.มาร่วมประชุมเกินครึ่ง เนื่องจากเป็นการประชุมวิสามัญครั้งแรกในรอบ 3 เดือน หลังจากปิดสมัยสภา โดยมีวาระการประชุม คือ การพิจารณาให้ความเห็นชอบ บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) / และตั้งคณะกรรมาธิการตรวจสอบประวัติ บุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็น กรรมการ กกต. และ กรรมการ ป.ป.ช.
แต่ประเด็นสำคัญที่ทำให้สื่อหลายสำนักมาติดตามความเคลื่อนไหวที่นี่ คือท่าทีของ ส.ว. หลังว่าที่พรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรคเซ็น MOU ร่วมกัน และไม่มีการระบุวาระพิจารณาแก้ไขกฎหมายอาญา ม.112 เป็นวาระร่วม จะทำให้จุดยืนของ ส.ว.ในการโหวตเลือกนายก เปลี่ยนไปหรือไม่
โดยนายวันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภา มองว่า ประเด็นนี้ขึ้นอยู่กับ ส.ว.แต่ละคนจะตัดสินใจอย่างไร โดยตอนนี้สมาชิกวุฒิสภาทั้งหมดยังไม่ได้หารือกันอย่างเป็นทางการ มีเพียงกลุ่มย่อยๆ ซึ่งยังเหลือเวลาตัดสินใจประมาณ 2 เดือน ซึ่งเท่าที่ตนเองสอบถาม แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1คำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง. ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกหรือไม่เลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี 2. ยังไม่ได้ตัดสินใจ รอดูสถานการณ์ก่อน และ 3. กลุ่มที่ยังไม่ได้ตัดสินใจเช่นกัน และจะไปตัดสินใจในวันโหวตทีเดียว โดย ส.ว. ส่วนมากอยู่ในกลุ่ม 2 และ 3 คือยังไม่ได้ตัดสินใจ ส่วนตัวเองยืนยันตามจุดยืนเดิม คือจะโหวตให้กับคนที่รวบรวมเสียงข้างมากได้
เลือกตั้ง 2566 : ยังยาก! "พิธา" ฝ่าด่าน ส.ว. แก้ ม.112
เลือกตั้ง2566 : เช็กเสียง ส.ว. ใครหนุน-ต้าน พิธา เป็นนายกฯ
เลือกตั้ง 2566 : ส.ว.เผยสเปคนายกฯ ต้องจงรักภักดี-ไม่ชักศึกเข้าบ้าน
ส่วนนายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา ที่ก่อนหน้านี้ออกมาแสดงจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่โหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะจะเสนอแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 วันนี้ผู้สื่อข่าวสอบถามจุดยืนอีกครั้ง หลังไม่มีวาระ ม.112 ใน MOU พรรคร่วมรัฐบาล นายกิตติศักดิ์ ยังยืนยันเหมือนเดิมว่าจะไม่โหวตให้ บอกว่า “กิตติศักดิ์ พูดคำไหนคำนั้น”
พร้อมบอกว่าถึงไม่มีใน MOU แต่เมื่อวานนายพิธาก็พูดเองว่าจะเสนอเรื่องนี้ให้สภาพิจารณา เพราะไปหาเสียงไว้แล้ว หากไม่แก้ เดี๋ยวจะกลายเป็น “ไม่มีกู” อีก ซึ่งนายกิตติศักดิ์ก็มองว่า การเสนอแก้ไขมาตรา 112 จะเป็นกฎหมายที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เข่นฆ่ากันเอง นายพิธาจึงไม่สมควรเป็นนายก
นอกจากเรื่อง ม.112 นายกิตติศักดิ์ ยังอ้างถึงอีกสาเหตุที่ทำให้จะไม่โหวตให้นายพิธา อ้างว่านายพิธาไปยุ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จนทูตอเมริกามาก้าวก่าย เร่งรัดเรื่องการเลือกตั้ง พร้อมบอกว่าจุดยืนของ ส.ว. ตอนนี้ มี 2 กลุ่มคือกลุ่มที่จะโหวตให้ และงดออกเสียง ซึ่งกลุ่มที่งดออกเสียงมีเยอะกว่า ส่วนตนเองตอนนี้เป็นคนเดียวที่ยืนหยัด “ไม่เห็นชอบ” ให้นายพิธาเป็นนายก
ส่วนการที่กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม นัดหมายทำกิจกรรม “ส.ว.ต้องไม่ฝืนมติประชาชน” เย็นนี้ นายกิตติศักดิ์ มองว่า หากมาด้วยมิตรไมตรี แสดงเจตนารมณ์ให้ ส.ว.รับทราบ ก็เชื่อว่า จะไม่ใช่ปัญหา เพราะเป็นสีสันของประชาธิปไตย แต่หากมากดดันข่มขู่ ก็เชื่อว่าไม่มีผลต่อทิศทางการโหวต