เพราะเชื่อว่า การศึกษา คือ รากฐานที่สำคัญ ในการต่อยอด เรียนรู้ พัฒนาสติปัญญา และกำหนดอนาคตของชีวิต แต่ปัจจุบัน 1 ใน 5 ของเด็กไทย กำลังเผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โครงการลมหายใจเพื่อน้อง จึงเกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ปตท. ที่ต้องการช่วยเหลือนักเรียนและเยาวชนจากครัวเรือนที่มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้มีความเสี่ยงออกจากระบบการศึกษาในปีการศึกษา 2565 ซึ่ง ปตท. สามารถช่วยเหลือนักเรียนและเยาวชนจำนวนกว่า 60,000 คนทั่วประเทศ ได้กลับเข้าไปสู่ระบบการศึกษาอีกครั้ง โดยมอบทุนการศึกษา 151 ล้านบาท และจัดตั้งกองทุนแรกเริ่มศูนย์ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนในวิกฤตการศึกษา อีก 20 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 171 ล้านบาท ผ่านกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ.

หากย้อนกลับไปในเฟสแรกของ “PTT VIRTUAL RUN” ภายใต้โครงการลมหายใจเพื่อน้อง เป็นการจัดกิจกรรมเดิน-วิ่งสะสมระยะทางเพื่อแปลงเป็นทุนการศึกษา เริ่มกิจกรรมเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2565 โดยกำหนด “ทุก 1 กิโลเมตร มีมูลค่าเท่ากับ 250 บาท โดย 10 กิโลเมตร จะมีมูลค่าเป็นทุนการศึกษาจำนวน 2,500 บาท สำหรับการช่วยพาน้องๆ กลับโรงเรียนได้ 1 คน” ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ยังเป็นการสร้างปรากฏการณ์สถิติใหม่ สำเร็จเป้าหมายเฟสแรกภายใน 6 วัน กับการสะสมระยะทาง 600,000 กิโลเมตร โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นรวม 93,061 คน เป็นระยะทางเดิน-วิ่งสะสม 7,425,061 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตาม ทุนนี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานกับโรงเรียน 17,432 แห่งใน 4 สังกัด ได้แก่ สพฐ. ตชด. อปท. และ สช. ในการสำรวจสถานะนักเรียน ‘ทุนเสมอภาค’ กสศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ราว 100,000 คน ที่มีความเสี่ยงหลุดจากระบบเพราะต้องเปลี่ยนผ่านช่วงชั้น ในช่วงเปิดเทอมการศึกษาแรกปี 2565 และด้วยข้อมูลเชิงลึกจากครูในพื้นที่ ที่ดูแลน้องๆ อย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษา ทำให้ กสศ. และ ปตท. สามารถพบเด็กกลุ่มเสี่ยง และนำไปสู่การจัดสรรเงินทุน 151 ล้านบาท ให้กระจายลงไปถึงมือของเด็กๆ อย่างทันท่วงที ถูกคน และตรงกับเป้าหมายโครงการ คือช่วยให้น้องๆ กลุ่มนี้ไปต่อในระบบการศึกษาได้

แต่กว่าเรื่องราวจะเดินมาถึงตรงนี้ ครูผู้อยู่เบื้องหลังทุน ‘ลมหายใจเพื่อน้อง’ ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ถ้าไม่มีทุนเข้าไปช่วยต่อลมหายใจให้น้องๆ ไม่เพียงเส้นทางการศึกษาเท่านั้นที่จะจบลง แต่ยังอาจหมายถึงชีวิตเด็กและครอบครัวของเขาที่ไม่อาจฟื้นยืนด้วยกำลังของตัวเองได้ ในท่ามกลางผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะยังเป็นโจทย์ท้าทายในแวดวงการศึกษาไปอีกยาวนาน

ครูนงลักษณ์ งามใจ โรงเรียนบ้านหนองขาม (ทองงามวิทยา) อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ผู้มีส่วนช่วยให้นักเรียนได้รับทุนลมหายใจเพื่อน้อง 4 คน เล่าถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กเสี่ยงหลุดจากระบบว่า “เด็กที่ขาดโอกาสเขาเสี่ยงหายจากระบบได้ตลอด ปัญหาคือเราไม่มีโรงเรียนมัธยมใกล้เคียง อยากเรียนต้องไปนอกหมู่บ้าน ทีนี้พอจบ ป.6 ต้องไปต่อโรงเรียนใหม่ การเดินทางเปลี่ยน ทางไกลขึ้น ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นตามกัน หลายบ้านที่ไม่ไหวเขาก็ถอดใจไม่ส่งลูกเรียนต่อแล้ว เรารู้ว่ามีคนที่จบไปแล้วถ้าไม่ช่วยต่อ เขาไม่ได้เรียนต่อแน่นอน หรือในอีกทางคือถึงไปต่อได้ก็อาจไม่ตลอดรอดฝั่ง ทุนการศึกษาหรือความช่วยเหลืออื่นๆ ที่เข้ามา ถือว่าสำคัญมาก แม้ตอนนี้ที่ทำได้คือช่วยคนที่เสี่ยงที่สุดก่อน แต่ในความเป็นจริงของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล เมื่อถึงช่วงชั้นรอยต่อ เด็กทุกคนต้องใช้เงิน ถ้ามีทุนสนับสนุนมากขึ้น คิดว่าจะเป็นหลักประกันช่วยเด็กอีกหลายคนไม่ให้หลุดไปกลางทางได้จริงๆ”

ด้าน ครูอัญชลี กอมสิน โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ อ.ท่าลี่ จ.เลย ซึ่งมีน้องได้รับทุน 5 คน กล่าวว่า “เด็กที่จบ ป.6 ของเรามี 14 คน ได้ไปต่อหมด ต้องบอกว่า ‘ทุน’ ช่วยได้เยอะ เราเองเป็นครูแอดมิน เป็นคนลงระบบต่างๆ เรารู้ว่าช่วงโควิด-19 มีหลายบ้านที่ผู้ปกครองตกงานกลับมาอยู่บ้าน พอรู้ว่าลูกหลานได้ทุนเขาก็ดีใจกันมาก เหมือนเป็นแสงสว่างของครอบครัวเขา ว่าอย่างน้อยน้องจะได้เรียนต่อ แล้วยังช่วยเรื่องชีวิตความเป็นอยู่เขาได้อีกด้วย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ ดีใจที่ได้มีส่วนช่วยตรงนี้ คือเงินก้อนนี้สำหรับบางคนอาจคิดว่าเป็นก้อนเล็กๆ แต่สำหรับเด็กกลุ่มนี้ พูดได้ว่าเป็นการต่อลมหายใจให้พวกเขาจริงๆ ทั้งเรื่องชีวิตและการศึกษา มันทำให้ความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบลดลง เด็กไม่ต้องหยุดเรียนไปทำงาน เติมเต็มปากท้อง และดึงพวกเขาให้กลับมามีความหวังอีกครั้ง”

ขณะที่ นายสิทธิชัย จันธรรรม (น้องจูเนียร์) นักศึกษาชั้น ปวช.1 สาขาอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาลัยเทคนิคพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี หนึ่งในนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา เปิดเผยว่า “เคยคิดว่าต้องออกไปทํางานเก็บเงินก่อนค่อยกลับมาเรียน แต่เท่าที่เคยเห็นคนที่ออกไปแล้วตั้งใจจะกลับมาเรียน มีเพียงไม่กี่คนที่ทําได้ ไม่ใช่เพราะเขาไม่ขยัน แต่การไม่ได้เรียนต่อเนื่องมันคืออุปสรรคที่ทําให้หมดความกระตือรือร้น กลายเป็นว่าคนที่ออกไปส่วนใหญ่ต้องไปทํางานเต็มตัวและไม่ได้กลับมาเรียนอีก ตอนนี้ตั้งใจแล้วว่าจะเรียนให้จบ ปวส. แล้วไปทํางาน เลี้ยงดูตัวเองให้ได้ ขอบคุณ ปตท. ที่ช่วยสนับสนุนผมและเพื่อนๆครับ”

นายสิรภพ สกุลแสง (น้องแมคกี้) จังหวัด ปทุมธานี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหอวัง ปทุมธานีโรงเรียนเดิม เล่าให้ฟังว่า “สําหรับผมที่ครอบครัวอยู่กันแค่สามคน คือปู่ พี่ชาย และตัวผม การที่ปู่มีอาชีพรับจ้างรายวัน ทําให้เส้นทางการศึกษาค่อนข้างไม่มีความแน่นอน ตัวผมเองตั้งใจว่าจะเรียนหนังสือให้สูงที่สุด เงินทุนจาก ปตท. ที่ได้รับมาจึงช่วยทําให้มีกําลังใจ และช่วยต่อเส้นทางการเรียนของผมให้มีความแน่นอนยิ่งขึ้นครับ”

นางสาวโยษิตา จิตรแก้ว (น้องออย) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สายศิลป์-สังคม โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก “อาศัยอยู่กับน้องชายและยาย ซึ่งยายที่มีโรคประจําตัว เข้าออกโรงพยาบายบ่อยครั้งเมื่อช่วงชั้นรอยต่อ ม. 3 ขึ้น ม. 4 นักเรียนไม่มีทุนการศึกษา และอาจจะไม่ได้เรียนต่อ ทุนลมหายใจเพื่อน้อง ทําให้น้องได้เรียนต่อชั้น ม. ปลาย เมื่อได้รับทุนการศึกษาแล้วนําไปใช้จ่ายเป็นค่าเทอม ซื้ออุปกรณ์การเรียน และค่ารถรับส่งเดินทางไปโรงเรียน ขอบคุณปตท. ที่มอบ ทุนลมหายใจเพื่อน้อง ทําให้หนูยังได้เรียนต่อจนถึงวันนี้ค่ะ”

อย่างไรก็ตาม โครงการลมหายใจเพื่อน้องเป็นแค่ ‘ส่วนหนึ่ง’ ในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาเท่านั้น ปตท. และ กสศ. เชื่อมั่นว่าหากเด็กและเยาวชนได้รับโอกาส และสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ เด็กและเยาวชนเหล่านี้จะเติบโตเป็นกำลังสำคัญที่จะร่วมพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

By admin